ปลูกผม FUE

 
 
 

ทำไมปลูกผมที่ Clever Clinic เชียงใหม่

ทีมแพทย์ปลูปผมถาวร มีประสบการณ์ 

 
ปลูกผม FUE คืออะไร? ปลูกผมไร้รอยแผลเป็น แก้ไขปัญหาผมบางอย่างถาว

          การปลูกผมไร้แผลเย็บ (FUE) และ ศัลยกรรมปลูกผมแบบทั่วไป (Strip FUT) บางครั้งอาจดูว่าเป็นวิธีการปลูกผมที่แตกต่างกัน แต่จริงๆ แล้ว ปลูกผม FUE ก็คือวิธีหนึ่งในการย้ายเซลผมออกมานั่นเอง โดยที่ย้ายกอผมออกมาจากหนังศรีษะโดยตรง ไม่ต้องตัดหนังศรีษะออกมาเป็นชิ้นแล้วไปแยกเป็นแต่ละกอผมอีกทีโดยใช้กล้องจุลทรรศน์

 

รู้ทันสาเหตุหลักผมร่วง

1. ผมร่วงจากฮอร์โมน

ฮอร์โมนเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผมร่วงได้มาก จะพบอาการผมร่วงด้วยสาเหตุนี้มากในผู้ชายวัยกลางคน และในผู้หญิงหลังคลอด

ในผู้ชายฮอร์โมนที่ทำให้ผมร่วงได้คือฮอร์โมนในกลุ่มฮอร์โมนแอนโดรเจน ที่มีชื่อว่า DHT (Dihydrotestosterone) ฮอร์โมนตัวนี้จะไปจับกับรากผม ทำให้วงจรชีวิตเส้นผมเปลี่ยนไปจนผมงอกได้น้อยลง ผมร่วงไวขึ้น ท้ายที่สุดจะทำให้ผมร่วง หัวล้านอย่างถาวร และต้องแก้ปัญหาด้วยการปลูกผม FUE หรือการปลูกผมถาวรวิธีอื่นต่อไป

ส่วนผมร่วงหลังคลอด เป็นอาการที่เกิดจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เส้นผมส่วนใหญ่บนหนังศีรษะร่วงออกพร้อมกันจนผมบางชั่วขณะ แต่อาการผมร่วงแบบนี้ไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยการปลูกผม FUE เพียงแค่รอเวลาประมาณ 6 เดือน ผมก็จะขึ้นมาเป็นปกติดังเดิม

2. ผมร่วงกรรมพันธุ์

กรรมพันธุ์เป็นตัวกำหนดปัจจัยหลายๆ อย่างของร่างกาย ทั้งรูปลักษณ์ การทำงานของร่างกาย รวมไปถึงโรคต่างๆ ที่ส่งต่อผ่านกรรมพันธุ์

โรคที่ทำให้ผมร่วง หรือปัจจัยบางอย่างที่ทำให้ผมร่วงง่ายกว่าปกติก็ส่งต่อผ่านกรรมพันธุ์เช่นกัน ซึ่งโรคดังกล่าวจะเรียกว่าโรคหัวล้านกรรมพันธุ์ (Androgenetic Alopecia)

 

 

     ในเพศชายจะพบโรคนี้ได้มากกว่าเพศหญิง โรคนี้จะทำให้ตัวรับฮอร์โมนบริเวณรากผมทำงานได้ดีมากขึ้น จน    ผมถูกรบกวนจากฮอร์โมน ทำให้ผมงอกได้น้อยลง ร่วงไวขึ้น ท้ายที่สุดจะทำให้หัวล้านถาวรโดยเฉพาะบริเวณผมด้านหน้าและกลางศีรษะ จำเป็นต้องแก้ไขด้วยการปลูกผมถาวรอย่างการปลูกผม FUE ส่วนโรคหัวล้านกรรมพันธุ์ส่งผลกับสุขภาพเส้นผมของผู้หญิงอย่างไรนั้นยังไม่ปรากฏชัดเจนมากนัก เพียงแต่ผู้ที่เป็นโรคดังกล่าว จะเริ่มผมร่วงมากกว่าปกติในช่วงอายุ 15 – 40 ปี เมื่อผมร่วงไปเรื่อยๆ ผมจะเริ่มบางจนศีรษะล้านกลางศีรษะเป็นหลัก ทั้งยังรักษาได้ยากกว่าอาการหัวล้านกรรมพันธุ์ในผู้ชาย บางกรณีแพทย์ก็ไม่แนะนำให้ปลูกผม FUE หรือปลูกผมถาวรวิธีอื่นๆด้วย เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง

3. ผมร่วงจากโรคต่าง ๆ

โรคต่างๆเป็นสาเหตุทำให้ผมร่วงได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม

โรคที่ทำให้ผมร่วงในทางตรงส่วนใหญ่จะเป็นโรคเกี่ยวกับหนังศีรษะ ทำให้หนังศีรษะติดเชื้อ อักเสบ จนส่งผลต่อการสร้างเคราตินของต่อมผม เช่น โรคผมร่วงฉับพลันทั่วศีรษะ (Telogen Effluvium), โรคผมร่วงเป็นหย่อม(Alopecia Areata), หรือโรคกลากเชื้อราบนหนังศีรษะ (Tinea Capitis)

นอกจากโรคทางกายภาพแล้ว โรคทางจิตใจ ความเครียด ที่ส่งผลกับพฤติกรรม อย่างเช่นโรคดึงผมตัวเอง(Trichotillomania) ก็สามารถทำให้ผู้ป่วยดึงผมตัวเองจนผมร่วงทั่วศีรษะ หรือหายไปเป็นหย่อมได้เช่นเดียวกัน ซึ่งโรคแบบนี้ควรรักษาที่พฤติกรรมก่อน หากมีปัญหาที่หนังศีรษะร่วมด้วยจึงส่งต่อให้แพทย์ด้านเส้นผมและหนังศีรษะดูแลในภายหลัง

ส่วนโรคที่ทำให้ผมร่วงทางอ้อม มักเป็นโรคที่ทำให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะวิกฤติ อย่างเช่นมีไข้สูงมาก ขาดเลือดระยะหนึ่ง ขาดสารอาหาร หรืออื่นๆ เนื่องจากภาวะเหล่านี้จะทำให้ร่างกายเกิดความเครียด ส่งผลต่อการทำงานในระบบต่างๆ ทำให้ต่อมผมหยุดทำงานชั่วขณะ จนผมร่วงพร้อมกันทั้งศีรษะ บางครั้งอาการป่วยก็กระตุ้นให้รากผมอักเสบจนผมร่วงได้เช่นเดียวกัน

ในเรื่องการรักษา ผมจะเริ่มขึ้นมาเองหลังจากผมร่วงไปโดยไม่ต้องรักษา แต่หากผมร่วงจากการอักเสบหรือการติดเชื้อ หลังอาการเหล่านั้นหายไปอาจทิ้งรอยแผลเป็นไว้ในบริเวณที่ผมร่วงจนต่อมผมถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเส้นผมขึ้นมาใหม่ได้อีก

ในกรณีนี้จะต้องรักษาด้วยการปลูกผมถาวรลงในแผลเป็นเท่านั้น โดยวิธีที่นิยมทำกันคือการปลูกผม FUE เนื่องจากเป็นการปลูกในพื้นที่เล็ก ไม่ต้องใช้รากผมมาก และยังไม่ทำให้เกิดแผลเป็นเพิ่มอีกด้วย

4. ผมร่วงจากความเครียด

ความเครียดเป็นสภาวะทางจิตใจที่ส่งผลกับร่างกายได้มากกว่าที่คิด บางครั้งความเครียดอาจทำให้ระบบร่างกายเสียสมดุล โดยเฉพาะระบบฮอร์โมน เมื่อระดับฮอร์โมนบางตัวอย่างเทสโทสเตอโรนหรือเอสโตรเจนเปลี่ยนไป ก็สามารถทำให้ผมร่วงชั่วคราวได้

5. ผมร่วงจากยา

ยาหรือวิธีการรักษาโรคอื่นๆ สามารถทำให้ผมร่วงได้ จากการทำให้ต่อมผมหรือผิวหนังโดยรอบอักเสบ, ความดันเลือดสูงจนเส้นเลือดฝอยเสียหาย, หรือส่งผลกับฮอร์โมนจนทำให้ผมร่วงได้ในที่สุด

6. ผมร่วงจากพฤติกรรม

พฤติกรรมต่างๆทำให้ผมร่วงได้โดยไม่รู้ตัว อย่างเช่นการทานอาหารไม่มีประโยชน์จนขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างเส้นผมไป, การสูบบุหรี่ที่จะไปเพิ่มฮอร์โมน DHT ต้นเหตุของผมร่วง, การดื่มสุราทำให้ความดันสูงอย่างเรื้อรังจนเส้นเลือดฝอยถูกทำลาย ทำให้เลือดไปเลี้ยงเส้นผมไม่พอ, หรือแม้กระทั่งพฤติกรรมการดูแลผมที่ผิดวิธี อย่างการมัดผมตึง หวีผมแรงๆ เซต ดัด ยืด ย้อมผม ก็ทำให้ผมร่วงได้มากเช่นกัน

ที่จริงแล้ว ผมร่วงเป็นเรื่องปกติที่จะเกิดขึ้นอยู่เสมอ เนื่องจากเส้นผมมีวงจรชีวิตเป็นของตัวเอง เส้นผมจะงอกและเติบโตขึ้นเรื่อยๆบนศีรษะของเราประมาณ 2 – 6 ปี หลังจากนั้นเส้นผมจะหยุดเติบโตระยะหนึ่งก่อนจะร่วงออก และมีเส้นผมชุดใหม่งอกขึ้นมาแทนที่

คนเรามีรูขุมขนบนศีรษะประมาณ 50,000 รูขุมขน ดังนั้นวันหนึ่งๆ ผมของเราสามารถร่วงได้มากถึง 100 เส้นเป็นเรื่องปกติ แต่หากร่วงมากกว่านี้ก็ควรพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและรักษาอาการผมร่วงต่อไปวิธีรักษาผมร่วงที่แนะนำ

ก่อนตัดสินใจเข้ารับการรักษาด้วยการปลูกผม FUE จะต้องรู้เกี่ยวกับการรักษาวิธีอื่นๆ ด้วย เนื่องจากการปลูกผม FUE เป็นการแก้ปัญหาผมบาง ศีรษะล้านที่ปลายเหตุ และนิยมทำให้กรณีที่หัวล้านจนต่อมผมเสียหาย และผมไม่สามารถกลับมางอกได้อีก

แต่หากอาการหัวล้านยังไม่รุนแรงมากนัก เพียงแค่ผมบางลง แต่รากผมยังสามารถงอกผมได้อยู่ แพทย์จะแนะนำให้รักษาด้วยวิธีการอื่นๆ ก่อนการปลูกผม FUE ซึ่งวิธีการรักษาอาการผมบาง ศีรษะล้านมีด้วยกันหลายวิธี ดังนี้

1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นขั้นแรกของการแก้ปัญหาผมร่วงหัวล้านด้วยตนเอง เพราะเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด และยังต้องทำควบคู่ไปกับการรักษาวิธีอื่นด้วย

พฤติกรรมหลายอย่างของคนเราอาจทำให้ผมร่วงโดยไม่รู้ตัว สิ่งที่ควรทำคือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต้นเหตุอาการผมร่วง ดังนี้

  • ทานอาหารบำรุงผม อาหารที่มีประโยชน์
  • ลด ละ เลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่
  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ผ่อนคลายความเครียด
  • หวีผมเพื่อกระตุ้นหนังศีรษะเบาๆเป็นประจำ
  • ไม่มัดผมตึงเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกับเส้นผม ทั้งย้อมสีผม ดัดผม และยืดผม

การปรับพฤติกรรมเพื่อหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงในเบื้องต้น จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำหากอยากมีผมดกหนา สุขภาพดี

2. การใช้ยาแก้ผมร่วง

การใช้ยาแก้ผมร่วงเป็นทางเลือกแรกๆของการรักษาอาการผมร่วงทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย เนื่องจากไม่ต้องพบแพทย์บ่อย ไม่ต้องเจ็บตัวฉีดยาหรือผ่าตัด โดยยาแก้ผมร่วงที่นิยมใช้กันในประเทศไทยมีด้วยกัน 2 ตัวยา ได้แก่ ยาไฟแนสเตอรายด์ (Finasteride) และยาไมนอกซิดิวล์ (Minoxidil)

ยาไฟแนสเตอรายด์จะใช้สำหรับแก้ผมร่วงในผู้ชายเท่านั้น ตัวยาจะออกฤทธิ์กระตุ้นให้เส้นผมงอกได้ดีขึ้น ทั้งยังไปลดการสร้างฮอร์โมน DHT ในเนื้อเยื่อต่างๆ ทำให้ผมร่วงน้อยลง และงอกได้ดีมากขึ้น ส่วนผลข้างเคียงนั้น ยาดังกล่าวอาจทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลงในระยะหนึ่ง แต่ถ้าใช้ยาไปเรื่อยๆ หรือหยุดใช้ อาการข้างเคียงจะหายไปเอง

ส่วนยาไมนอกซิดิวล์ จะช่วยออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือด กระตุ้นให้รากผมงอกผมได้ดีขึ้น วงจรชีวิตเส้นผมยาวนานขึ้น ร่วงช้าลง ตัวยามีทั้งแบบน้ำและแบบเม็ดใช้ทาน สามารถใช้ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ส่วนผลข้างเคียงนั้น ยาชนิดทาอาจจะให้ผิวแห้ง ส่วนยาชนิดทานอาจทำให้ตัวบวม เวียนศีรษะ ใจเต้นแรง หรือขนขึ้นที่ใบหูได้

การใช้ยาแก้ผมร่วงต้องปรึกษาแพทย์ก่อน เนื่องจากมีผลข้างเคียงที่ค่อนข้างรุนแรงหากใช้ผิดวิธี นอกจากนี้การใช้ยายังใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล แพทย์อาจจะแนะนำให้รักษาด้วยวิธีการอื่นร่วมด้วยเพื่อให้เห็นผลการรักษาเร็วขึ้น

3. การรักษาแบบทางเลือก

การรักษาแบบทางเลือก เป็นการรักษาด้วยการกระตุ้นรากผม และฟื้นฟูการทำงานของรากผมด้วยวิธีการต่างๆ โดยไม่ต้องใช้ยา ซึ่งการรักษาดังกล่าวมี 3 วิธี ดังนี้

  • การทำ PRP ผม – เป็นการฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้นจากร่างกายของผู้เข้ารับการรักษาเองเข้าที่หนังศีรษะ เพื่อกระตุ้นการทำงานของเซลล์รากผม ทำให้รากผมแข็งแรงขึ้น ส่งเสริมการสร้างเส้นผมและเส้นเลือดฝอยบริเวณนั้น ส่งผลให้ผมงอกได้ดีขึ้นในระยะยาว
  • การฉีดสเต็มเซลล์รากผม – เป็นการฉีดสเต็มเซลล์จากหนังศีรษะของผู้เข้ารับการรักษาเอง ช่วยซ่อมแซมส่วนที่เสียหายบนหนังศีรษะ ส่งเสริมให้สุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะโดยรวมดีขึ้น กระตุ้นการทำงานของเซลล์รากผม
  • การทำเลเซอร์ – การทำเลเซอร์จะช่วยให้พลังงานกับเซลล์ และกระตุ้นการทำงานของเซลล์บริเวณหนังศีรษะ ทำให้รากผมงอกผมได้ดีขึ้น เลเซอร์ที่นิยมทำเพื่อกระตุ้นรากผมมี 2 ชนิด คือ LLLT Laser และ Fotona Laser ซึ่งโฟโตน่าเลเซอร์นี้เป็นเลเซอร์นวัตกรรมใหม่ นำเข้าจากต่างประเทศ โดย Absolute Hair Clinic ให้บริการเป็นที่แรกในไทยด้วย

การรักษาทางเลือกนิยมใช้ในกรณีที่ผู้เข้ารับการรักษาไม่ต้องการใช้ยาสำหรับทาน อยากเห็นผลการรักษาไวขึ้น หรือนิยมทำควบคู่กับการทานยา และทำหลังจากศัลยกรรมปลูกผม FUE ด้วย

4. ศัลยกรรมปลูกผมถาวร

การศัลยกรรมปลูกผมถาวร เป็นการผ่าตัดเพื่อย้ายรากผมจากตำแหน่งเดิมซึ่งมักจะเป็นบริเวณท้ายทอยหรือหลังกกหู ไปยังตำแหน่งที่ไม่มีผม หรือต้องการให้ผมหนาขึ้น โดยการศัลยกรรมปลูกผมถาวรนี้มีด้วยกันหลายวิธี แต่ละวิธีจะแตกต่างกันไปในรายละเอียดบางขั้นตอน วิธีการหลักๆ ที่ใช้กันจะมี 2 วิธี ได้แก่ปลูกผม FUT และปลูกผม FUE

การปลูกผม FUT เป็นการปลูกผมที่ถูกคิดค้นเป็นวิธีแรกๆ โดยวิธีนี้จะย้ายรากผมโดยการตัดหนังศีรษะชั้นบนบางส่วนออกพร้อมรากผม แล้วนำชิ้นหนังศีรษะไปแยกเป็นกอรากผม แล้วจึงนำมาปลูกทีละกอ ข้อเสียคือแผลเย็บจากการตัดหนังศีรษะออกจะทิ้งรอยแผลเป็นไว้หลังการรักษา

ส่วนการปลูกผม FUE จะทำเหมือนกับการปลูกผม FUT ทุกประการ แต่จะต่างกันตรงวิธีการย้ายรากผมออกมาจากหนังศีรษะ การปลูกผม FUE จะใช้เครื่องเจาะทันสมัยเจาะรากผมออกมา ทำให้ไม่ทิ้งแผลเป็นไว้หลังการรักษา

ส่วนวิธีอื่นๆจะเป็นวิธีการที่แยกย่อยออกมาจากการปลูกผม FUE เช่น การปลูกผม DHI คือการปลูกผมแบบ FUE ที่จะปลูกกอรากผมด้วยเครื่องมือ Implanter pen ส่วนการปลูกผม Long Hair DHI หรือ FUE จะเป็นการปลูกผมแบบ FUE ที่จะใช้กอรากผมที่มีผมยาวในการปลูกผมนั่นเอง

ทั้งนี้ การศัลยกรรมปลูกผมถาวรเป็นตัวเลือกสุดท้ายของการรักษาอาการผมบาง หัวล้าน เนื่องจากการผ่าตัดมีความเสี่ยง อีกทั้งการรักษายังไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ นอกจากนี้ผู้ที่ผ่านการปลูกผมมาแล้วอาจมีความเสี่ยงที่ผมส่วนอื่นจะร่วงเพิ่มขึ้นอีกหากไม่ปรับพฤติกรรม หรือไม่รักษาด้วยวิธีการอื่นๆร่วมด้วย

ดังนั้นหลังการรักษาด้วยการศัลยกรรมปลูกผมแพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาแก้ผมร่วง หรือใช้การรักษาทางเลือกต่างๆ ควบคู่ไปด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ผมร่วงเพิ่มจนต้องปลูกผมรอบสอง

 

Visitors: 40,522