เทสโทสเตอโรน (TESTOSTERONE)

                                  

 

    

 

                     clever Clinic คลินิคเฉพาะทาง รักษา หลั่งเร็ว เพิ่มขนาด  

                        ฮอร์โมนแห่งความเป็นชายชาตรี หรือ Testosteroneเป็นฮอร์โมนเพศชายที่เรามักคุ้นหู รู้จักกันดี แต่ฮอร์โมนเพศชายตัวนี้ไม่ได้มีบทบาทชูโรง    แค่ในเรื่องสมรรถภาพทางเพศเพียงอย่างเดียว

เรามาทำความรู้จัก Testosterone ให้ลึกซึ้งถึงแก่นแท้กัน ฮอร์โมนเพศชาย มีอะไรบ้าง? ฮอร์โมนเพศชายมีกี่ชนิด? หากร่างกายมีฮอร์โมนเพศชายมากเกินไป ถือว่าผิดปกติหรือไม่? เพราะฮอร์โมนเพศชาย Testosterone มีความสำคัญมากกว่าที่คุณคิด…

ฮอร์โมนเพศชาย คือ ….

ฮอร์โมนเพศชาย หรือ ฮอร์โมน Testosterone เป็นฮอร์โมนเพศตัวหนึ่งที่กำหนดลักษณะความเป็นชายของคุณ ทั้งลักษณะทางร่างกาย ปริมาณการมีเส้นขนตามร่างกาย การพัฒนากล้ามเนื้อและกระดูก รวมไปถึงการความต้องการทางเพศ การสร้างอสุจิ แล้วฮอร์โมนเพศชาย มีอะไรบ้างล่ะ….ก็คือฮอร์โมน Testosterone นี่แหละ จะสร้างขึ้นที่บริเวณอัณฑะและจะสร้างมากสุดหรือ peak ในช่วงวัยยี่สิบต้นๆ

ฮอร์โมนเพศชายมีกี่ชนิด หลักๆ แล้วฮอร์โมนเพศชายที่กำหนดแสดงลักษณะความเป็นเพศชายก็คือ ฮอร์โมน Testosterone เพียงตัวเดียวที่มีบทบาทมาก แต่ในเพศชายเองไม่ได้มีแค่ฮอร์โมน Testosterone ยังมีฮอร์โมน Estrogen ในระดับที่น้อยมากๆ เพื่อให้ร่างกายสมดุล ในผู้หญิงก็มีฮอร์โมน Testosterone ตัวนี้เช่นกันแต่จะมีปริมาณที่น้อยมาก เพราะฮอร์โมนเพศหญิง คือ ฮอร์โมน Estrogen ซึ่งมีปริมาณสูงกว่าTestosterone มากๆ ในเพศหญิง เพื่อกำหนดลักษณะความเป็นผู้หญิงต่างๆ ออกมา

คุณรู้จัก ฮอร์โมนเพศชาย Testosterone ดีหรือยัง? ในปัจจุบันอาจจะยังมีความเข้าใจผิดๆ ความเชื่อหลอกๆเกี่ยวกับฮอร์โมนเพศชายหลงเหลืออยู่บ้าง

  • ถ้าคุณมีระฮอร์โมนเพศชาย Testosterone เยอะ เท่ากับว่ายิ่งดี มีความเป็นชายสูง—— “ผิดมหันต์!” ความจริงคือ ถ้าคุณมีระดับของ ฮอร์โมนเพศชาย Testosterone ในร่างกายสูงกว่าปกติ ร่างกายจะเปลี่ยน ฮอร์โมนเพศชาย Testosterone บางส่วนให้เป็น ฮอร์โมน Estrogen เพื่อให้มันสมดุลกัน และการมีระดับฮอร์โมนเพศชายที่สูงมากเกินไป นั้นอาจทำให้คุณมีอารมณ์ก้าวร้าวมากกว่าปกติ

ฮอร์โมนเพศชายมากเกินไปไม่ได้ส่งผลดีต่อร่างกายเท่าไหร่นัก และระดับฮอร์โมนเพศชายปกติ ควรอยู่ระหว่าง 300 – 1,000 นาโนกรัม/เดซิลิตร และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 679 นาโนกรัม/เดซิลิตร หากมีสุขภาพแข็งแรง ระดับฮอร์โมนเพศชายจะอยู่ที่ 400-600 นาโนกรัม/เดซิลิตร แน่นอนว่าร่างกายคุณจะมีการสร้างฮอร์โมนเพศชาย peak ในช่วงวัยรุ่นตอนปลายไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ หลังจากนั้นก็จะมีปริมาณลดลงเรื่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้น จะเริ่มสังเกตได้หลังอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือภาวะวัยทอง มีอารมณ์ฉุนเฉี่ยว

หรือหากมี ฮอร์โมนเพศชายต่ำเกินไปก็ไม่ดีเช่นกัน กรณีมีภาวะฮอร์โมนเพศต่ำในช่วงวัยรุ่น อาจส่งผลต่อการพัฒนาการของอวัยวะเพศ ถุงอัณฑะ การผลิตอสุจิ การมีเสียงทุ้ม หนวดเคราบาง รวมถึงการพัฒนาขนาดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต่างๆด้วย อีกกรณีคือการที่มีภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ เมื่ออายุเพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุให้อวัยวะเพศแข็งตัวได้ไม่ดีเหมือนปกติ อารมณ์แปรปรวนง่าย สมรรถภาพทางเพศลดลงด้วย….

หากมี ภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ จะมีสาเหตุ อาการ ที่สังเกตได้อย่างไรบ้าง และการรักษาภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ ทำได้ยังไงบ้าง…
แน่นอนว่าอายุที่เพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ แต่ก็ยังมีปัจจัยสาเหตอื่นๆอีก ที่ทำให้คุณมีภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ หรือระดับฮอร์โมนเพศชายแปรปรวนจนส่งผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวันได้

สาเหตุไหนบ้างที่ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนต่ำลง เป็นภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ

  •  การมีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวานชนิดที่2 หรือโรคอ้วน
  •  การมีปัญหาสุขภาพไต โรคตับอักเสบ โรคเอดส์ การได้รับบาดเจ็บที่อวัยวะเพศ
  • การรักษาโรคมะเร็ง ด้วยวิธีทำทำรังสีบำบัด คีโมบำบัด
  •  การติดสุรา

 

ซึ่งการมีระดับฮอร์โมนเพศชายที่ต่ำลง หรือภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายด้วย หรือใครไม่ทราบว่าตัวเองมีภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ ให้สังเกตอาการต่อไปนี้

  • ร่างกายมีความแข็งแรงลดลงอย่างเห็นได้ชัด
  •  มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น มีอาการปวดเมื่อยตามข้อต่อ กระดูก
  •  มักมีปัญหาเรื่องการนอนไม่ค่อยหลับ หรือหลับ แต่ไม่สนิท
  •  และอามีอาการเซื่องซึมหดหู่ ในบางท่าน รู้สึกตัวเองมีความกระตือรือร้นน้อยลง
  • มีมีความต้องการทางเพศลดน้อยลง

สังเกตอาการที่อาจบอกได้ว่า คุณอาจจะมีภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ

• รู้สึกว่าอวัยวะเพศไม่แข็งตัวได้ดีเหมือนปกติ
• ร่างกายไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง อาจรู้สึกเพลียเหมือนพักผ่อนไม่เต็มที่
• ความรู้สึกทางเพศลดลงอย่างเห็นได้ชัด
• รู้สึกมีเครียดได้ง่าย กังวลและไม่ค่อยมั่นใจ
• อารมณ์แปรปรวนมากกว่าปกติ

ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย หรือ ภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ หลักๆแล้วมีวิธีการรักษาอยู่สองทาง คือ

• การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในการใช้ชีวิตของคุณ ลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ
– งดการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่
– ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักไม่ให้น้อยเกินไปหรือมากเกินไป
– พักผ่อนให้เพียงพอ พยายามไม่ให้ตนเองเครียดเกินไป
– รับประทานอาหารให้เหมาะสม มีประโยชน์

• การรักษาด้วยการ ให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทน
– ในปัจจุบันการให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทน เพื่อปรับสมดุลการทำงานของระบบต่างๆของร่างกายให้เป็นปกติ รวมถึงความต้องการทางเพศและสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งทุกวันนี้มียาฮอร์โมนเพศชายทดแทนให้เลือกหลากหลายมาก ทั้งแบบยาสำหรับรับประทาน ยาฉีด ยาสำหรับทา ลักษณะเป็นเจลใส หรือแบบแผ่นแปะ ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ในการเลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับคุณ

Visitors: 37,742