ต่อมลูกหมากโต

        ต่อมลูกหมากโต หรือโรค BPH ชื่อเต็มก็คือ Benign Prostatic Hyperplasia 


            มีลักษณะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดที่ใหญ่กว่าปกติ ซึ่งชาวต่างชาติส่วนใหญ่จะบอกว่า ลักษณะของขนาดของต่อมลูกหมากเสมือนกับผลของลูกเกาลัด แต่ที่ตั้งตำแหน่งของต่อมลูกหมากจะอยู่บข้างใต้ของกระเพาะปัสสาวะ

ต่อมลูกหมากจะมีหน้าที่สร้างสารที่เป็นของเหลวแล้วหลั่งออกมาคร่าวๆ 30% ของน้ำอสุจิ เนื่องด้วยเหตุที่ต่อมลูกหมากจะปกคลุมท่อปัสสาวะท่อนแรก พอต่อมลูกหมากโตก็เกิดการกดทับ จึงทำให้ท่อปัสสาวะมีการบีบตัวทำให้ท่อปัสสาวะเล็กลง เมื่อทำให้ผู้ป่วยบางรายเกิดการติดขัดขณะที่กำลังปัสสาวะอยู่

ทั้งนี้แล้วนอกจากต่อมลูกหมากที่โต ก็จะเกิดเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะหนาขึ้น เพราะว่าเกิดจากการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะเพื่อที่จะให้เกิดการปัสสาวะไหลผ่านทางท่อแคบๆ แต่ถ้ากระเพาะปัสสาวะหนาขึ้นจะทำให้มีการเก็บน้ำปัสสาวะลดน้อยลง จึงทำให้ผู้ป่วยที่เป็นภาวะที่ต่อมลูกหมากโตจะมีการถูกกระตุ้นให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น แล้วอาจจะมีการกระตุ้นให้ปวดปัสสาวะถี่และเร็วกระทันหัน

ภาวะต่อมลูกหมากโตมีการค้นพบและสามารถเห็นได้เป็นปกติ เพราะว่าการเกิดจะเกี่ยวข้องกับอายุของแต่ละบุคคล มีการแสดงให้เราเห็นว่าร้อยละ 50 ของผู้ที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโตก็มีอายุอยู่คร่าวๆ 60 ปี เพราะว่าเมื่อก่อนนั้นยังไม่มีการแสดงหลักฐานอย่างชัดเจนว่าโรคต่อมลูกหมากโตนั้นจะสามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

เพราะอย่างไรก็ตามทุกคนต้องติดตามอาการที่ผิดปกติทั้งในต่อมลุกหมากโต และยังมีโรคมะเร็งต่อมลูกหมากมีความคล้ายคลึงกัน และเป็นไปได้ว่าโรคต่อมลูกหมากโตจะเกิดขึ้นได้ในระยะว่าเดียวกัน ต่อมลูกหมากโตสามารถรักษาได้

     ต่อมลูกหมากคืออะไร/มีหน้าที่อะไรบ้าง

ต่อมลูกหมาก เป็นอวัยวะส่วนนึงของระบบสืบพันธุ์เพศผู้ชาย ต่อมลูกหมากมีขนาดเท่ากับลูกเกาลัด และอยู่บริเวณข้างใต้กระเพาะปัสสาวะและล้อมไปด้วยท่อปัสสาวะส่วนแรก ต่อมลูกหมากมีหน้าที่ก็คือ สามารถผลิตน้ำอสุจิแล้วยังนำส่งน้ำเชื้ออสุจิและผลิตสารหล่อลื่นออกมาจากอวัยวะเพศได้ด้วย โดยทั่วไปต่อมลูกหมากจะเริ่มหยุดเติบโตหลังจากอายุประมาณ 20 ปี จนถึงอายุประมาณ 45 ปี และอาจจะมีการเพิ่มขนาดขึ้นอีกครั้ง จึงเป็นจุดเริ่มต้นของโรคต่อมลูกหมากโต

     สาเหตุการเป็นโรคต่อมลูกหมากโต

มีการตั้งสมมติฐานว่าโรคต่อมลูกหมากโตเกิดได้จากร่างกายที่เริ่มเสื่อมสภาพลงตามวัยของผู้ชาย แล้วยังเกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน และอาจจะเกิดจากพันธุกรรมได้อีกด้วย

แต่ผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการค่อนข้างรุนแรงในกลุ่มของผู้คนที่มีอายุน้อยกว่าประมาณ 60 ปี ซึ่งควรจะเข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัด และกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงอายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ถ้าเกิดว่ามีคนในครอบครัวของเราเคยเป็นโรคต่อมลูกหมากโตมาก่อนแล้วอาจจะมีโอกาสที่จะเป็นซ้ำๆได้มากขึ้น

    ลักษณะอาการของโรคต่อมลูกหมากโตเป็นอย่างไร?

1. เราจะรู้สึกว่าเราต้องการปัสสาวะบ่อยขึ้น
2. น้ำปัสสาวะอาจจะมีเลือดปนอยู่ด้วย
3. ทำให้เกิดความรู้สึกคิดว่าในการปัสสาวะเป็นเรื่องที่น่าเบื่อมากในแต่ละวัน
4. มีความรู้สึกว่าตัวเองปัสสาวะไม่สุด ทำให้อยากไปปัสสาวะอยู่บ่อยครั้ง
5. ปัสสาวะติดกันภายในเวลา 2 ชั่วโมง
6. กลั้นปัสสาวะไว้ไม่ได้ จึงต้องรีบไปเข้าห้องน้ำทันที
7. ต้องพยายามเบ่งนานกว่าปกติกว่าที่จะขับปัสสาวะออกมาได้
8. บางครั้งอาจจะปัสสาวะไม่ออกเลย

โดยทั่วไปลักษณะอาการก็คือ ปัสสาวะไม่ออก กลั้นปัสสาวะไว้ไม่อยู่ มีเลือดออกขณะปัสสาวะ และปัสสาวะออกไม่สุดหรือเราต้องยืนเบ่งปัสสาวะนานมาก

     การวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากโต

วินิจฉัยเบื้องต้นด้วยตัวเอง คอยเฝ้าสังเกตอาการและความผิดปกติของร่างกายในการปัสสาวะ ถ้าพบว่าตัวเองปัสสาวะบ่อยขึ้น ในขณะที่กำลังปัสสาวะอยู่ถ้ารู้สึกว่ามีอาการเจ็บ หรือต้องเบ่งอยู่นานกว่าที่ปัสสาวะเสร็จ แนะนำว่าคุณควรไปพบคุณหมอทันที

วินิจฉัยโดยแพทย์ ก่อนที่เราไปพบหมอ อย่างแรกเลยก็คือต้องทำการตรวจเช็คร่างกายให้ชัดเจนก่อนว่าพบความผิดปกติหรือไม่ในการปัสสาวะที่เกิดจากโรคต่อมลูกหมากโต หลังจากผ่านไปซักถามประวัติเบื้องต้นในการรักษา จะเน้นไปในทางเรื่องของทางเดินปัสสาวะ โดยจะผ่านการตรวจโรคต่อมลูกหมากโตที่อาจจะใช้ในการวินิจฉัยอาการดังกล่าว ดังนี้

    ตรวจทางทวารหนัก ( DRE Style) ในรูปแบบของการตรวจทางทวารหนักก็เป็นการเอานิ้วสอดเพื่อที่จะตรวจดูความผิดปกติของต่อมลูกหมาก นอกจากนี้แล้วการตรวจทางทวารหนัก ก็อาจจะทำได้แค่การวินิจฉัยเบื้องต้นเท่านั้นและไม่สามารถตรวจความรุนแรงของโรคได้

การตรวจปัสสาวะ (Urinalysis) การตรวจปัสสาวะสามารถช่วยบ่งบอกถึงลักษณะการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้ การตรวจสารที่บ่งบอกถึงการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate-Specific Antigen: PSA) การตรวจแบบนี้สามารถช่วยให้หมอระบุได้ว่าอาการข้างต้นมีโอกาสเป็นโรคต่อมลูกหมากโตหรือมะเร็งต่อมลูกหมาก เนื่องจาก 2 โรคนี้ค่อนข้างมีอาการที่คล้ายคลึงกัน

การตรวจค่าครีเอตินินในเลือด (Blood Creatinine Test) เป็นการตรวจดูการทำงานของไต ว่ายังทำงานได้ดีหรือไม่ ทั้งนี้แล้ว คุณหมออาจจะมีการตรวจหรือสังเกตอาการเพิ่มเติม เพื่อที่จะบอกสาเหตุที่แน่ชัดของอาการที่เกิดขึ้น ว่าเป็นอาการของโรคต่อมลูกหมากโตหรือไหม

การตรวจเช็คปริมาณปัสสาวะที่ยังค้าง (post-voided residual) เป็นการตรวจปริมาณปัสสาวะที่ยังเหลือในกระเพาะปัสสาวะหลังจากปัสสาวะเสร็จแล้ว อาจจะใช้การแบบอัลตราซาวด์ (Ultrasound) หรือใช้สายสวนปัสสาวะใส่เข้าไปทางท่อปัสสาวะ

การตรวจการไหลของปัสสาวะ (Urinary Flow Test) เป็นการตรวจวัดความแรงการไหลของปัสสาวะ ผลที่ได้จะสามารถช่วยให้ทราบถึงการไหลของปัสสาวะเป็นปกติหรือไม่ นอกจากนี้ ระหว่างการรักษา การตรวจนี้ ยังจะช่วยแสดงให้เห็นว่าการรักษาทำให้อาการดีขึ้นหรือแย่ลง

    อาการแทรกซ้อนของโรคต่อมลูกหมากโต

1.มีการอักเสบตรงบริเวณกระเพาะปัสสาวะและเกิดการติดเชื้อ
2.ขณะที่ปัสสาวะอาจจะมีเลือดเพราะว่าต่อมลูกหมากอาจจะมีการบวมขึ้น
3.การทำงานของไตเสื่อมลงแล้วอาจจะเกิดไตวายได้
4.นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
5.ปัสสาวะอาจมีการไหลย้อนกลับและจะทำให้ไตเสียหาย

    การรักษาต่อมลูกหมากโต

1.งดดื่มของเหลวหรือแอลกอฮอล์ในปริมาณมากโดยเฉพาะเวลากลางคืน
2.คุณหมอสั่งยาให้ผู้ป่วย อย่างเช่น ยาคลายกล้ามเนื้อจะสามารถช่วยทำให้ต่อมลูกหมากเล็กลง
3.การรักษาโดยการใช้อุณหภูมิที่ร้อนจะช่วยใช้บรรเทาอาการของต่อมลูกหมากโตได้
4.วิธีรักษาด้วยการผ่าตัดแบบส่องกล้อง เป็นการตัดชิ้นเนื้อในส่วนที่เกินออก วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีผ่าตัดที่นิยมใช้กันมาก คุณหมอผ่าตัดจะนำท่อที่มีกล้องที่มีขนาดเล็กเข้าสู่ท่อปัสสาวะ

Visitors: 37,747